ร้าน จินกิว  : 1มื้อทานเจ หมื่นชีวิตรอด [โซน กรุงเทพฯ]
หน้าแรก
สินค้า
ประวัติการส่งสินค้า
แจ้งชำระเงิน
บทความ
เว็บบอร์ด
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา

ยินดีต้อนรับ
Username:
Password:

สามารถใช้รหัสเดียวกันกับเว็บไซต์ uamulet.com ในการใช้งาน
จดจำฉัน
สถิติ
จำนวนสินค้า 11 ชิ้น
มีผู้เข้าชม 64192 ครั้ง
จำนวนหน้าเข้าชม 67605 หน้า
เปิดร้าน 10/02/2556
ปรับปรุงล่าสุด
<< ย้อนกลับ | ถัดไป >>
การทานเจเพื่อสุขภาพและฟื้นฟูจิตเมตตา ( 4093 วันที่ผ่านมา )

การทานเจเพื่อสุขภาพและฟื้นฟูจิตเมตตา
โดย รศ. พ.ญ. พนิดา ชัยเนตร
ที่มา: ไมตรี สุทธจิตต์. ๒๕๔๒. วิถีสุขภาพแห่งชีวิต
จัดพิมพ์โดย สหพันธ์มังสวิรัติแห่งประเทศไทยในการประชุมใหญ่มังสวิรัติโลก’๙๙ ครั้งที่ ๓๓ ที่เชียงใหม่ (วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๔๒). ฟ้าอภัย จำกัด.

คำว่า “เจ” มีความหมายในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานว่าอุโบสถ คือการทานอาหารก่อนเที่ยงวัน แต่พระสงฆ์ในพุทธศาสนามหายาน นอกจากถือศีลโดยทานอาหารก่อนเที่ยงวันแล้วไม่ทานเนื้อสัตว์ “เจ” จึงมีความหมายการถือศีลบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ ไปถึงการไม่ทานเนื้อสัตว์ และการถือศีลเจ เป็นการรักษาศีล ปากให้บริสุทธิ์ ทั้งอาหารที่รับประทานเข้าไป และการพูดจาที่ออกจากปาก ปากต้องไม่พูดทุกสิ่งที่ไม่ดี มิเพียงคำพูดเท็จ คำด่าหยาบคาย แต่รวมไปถึงคำนินทา คำพูดที่เพ้อเจ้อเหลวไหล นำคำพูดคนนี้ไปให้คนโน้น นั่นก็คือนอกจากจะสละความสุขทางปากแล้ว ยังยกคุณธรรมให้สูงขึ้น จิตเมตตาที่เป็นคุณธรรมเบื้องต้นจึงจะประจักษ์ออกมา การทานเจต่างจากมังสวิรัติที่เพิ่มการงดผักฉุน ๕ ชนิด คือ หอม กระเทียม ลักเกียว (กระเทียมโทน) กุ่ยฉ่าย และใบยาสูบซึ่งการแพทย์ของจีนบ่งว่าสำหรับผู้ไม่ทานเนื้อสัตว์ ผักฉุนทั้งห้าชนิดจะทำลายพลังธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุดิน และธาตุทอง ตามลำดับ ซึ่งมีผลเสียต่อ ไต หัวใจ ม้าม ตับ และปอด ตามลำดับ ในด้านอารมณ์ซึ่งมีผลต่อจิตใจ ผักฉุนมีความขุ่น หนืดและหนักต่ออารมณ์ทำให้การปฏิบัติบำเพ็ญยาก

ในด้านประโยชน์ของการทานเจต่อสุขภาพกายนั้น เป็นที่ทราบแน่นอนแล้วว่าการทานแต่พืชผัก
เมล็ดธัญพืชที่มีหลากหลายชนิดหมุนเวียนกันและการทานผลไม้ชนิดต่างๆ ให้ประโยชน์ทางโภชนาการ
เพียงพอต่อร่างกาย เนื่องจากได้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือ แร่ธาตุและวิตามินพอเพียงแก่การเจริญเติบโต
ของเซลล์ที่ประกอบเป็นอวัยวะต่างๆของร่างกายในวัยเด็ก และการซ่อมแซมเสริมสร้างเซลล์ที่สลายหรือเสื่อมสภาพไป
ในผู้ที่เจ็บป่วยและผู้สูงอายุ นอกจากนี้การทานเนื้อสัตว์ ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ ทั้งน้ำทะเลและน้ำจืด ยังเพิ่มความเสี่ยงสูง
ต่อการเกิดโรคทั้งชนิดไม่ติดเชื้อและโรคที่ติดเชื้อ สำหรับโรคที่ไม่ติดเชื้อ มีข้อมูลมากมายว่าผู้ที่ทานเนื้อสัตว์
มีอัตราการเกิดโรคสูงกว่าผู้ไม่ทานเนื้อสัตว์ในหลายโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โดยเฉพาะที่มีสาเหตุ
จากการอุดตันของเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจ โรคสมองจากเส้นเลือดอุดตัน โรคข้อ โรคเบาหวาน โรคแผลในกระเพาะ
และโรคและโรคเรื้อรังที่หาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งรักษาโดยการแพทย์แผนปัจจุบันไม่ได้ผลและโรคมะเร็งต่างๆ
โดยเฉพาะมะเร็งในลำไส้ มะเร็งในตับ มะเร็งปอด เป็นต้น ส่วนโรคติดเชื้อนั้น เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า
การทานเนื้อสัตว์ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำจืด น้ำเค็ม เสี่ยงต่อการได้รับพยาธิหลายชนิดที่ทำให้เกิดโรคทางลำไส้ ตับ
ปอด กล้ามเนื้อ ผิวหนัง และที่สำคัญคือบางชนิดเข้าสมองทำให้ถึงตายได้ นอกจากนี้เนื้อสัตว์ยังเป็นแหล่งของแบคทีเรีย
หลายชนิดที่ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดอาการทางลำไส้คืออุจจาระร่วง แต่ปัจจุบันที่มีการทานเนื้อสัตว์บกและสัตว์ทะเลหลายชนิด ที่การเลี้ยงไม่ถูกต้อง สภาพแวดล้อมที่เสื่อมลง การฆ่าที่ไม่ถูกหลัก การขนส่งไม่ถูกสุขลักษณะ ตลอดจนการปรุงอาหาร ที่ใช้ความร้อนไม่เพียงพอ ทำให้มีการติดเชื้อจากการรับประทานเนื้อวัว เนื้อสุกร และอาหารทะเลหลายชนิดที่ทำให้เกิด
การติดเชื้อรุนแรงจากการที่แบคทีเรียสามารถบุกรุกเข้าสู่กระแสโลหิต ก่อให้เกิดการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ เช่น ปอด ตับ
ไต ระบบประสาทสมอง เป็นต้น แบคทีเรียที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อในกลุ่มซาลโมเนลล่า ที่รู้จักกันดีว่าทำให้เกิดโรคไทฟอยด์
แต่ปัจจุบันการศึกษามีกว้างขวางทำให้ได้ทราบว่ามีเชื้อซาลโมเนลล่ากว่า ๒,๐๐๐ ชนิด ที่มาจากสัตว์สู่คน และทำให้เกิด
โรดรุนแรงมากน้อยต่างกัน นอกจากนี้เชื้อซาลโมเนลล่าบางชนิดยังสามารถดื้อต่อสารต้านจุลชีพได้หลายชนิด ทำให้การรักษา ยากขึ้นในคนไข้แต่ละราย เนื่องจากคุณสมบัติการดื้อยาถูกสั่งโดยยีนส์ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากแบคทีเรียหนึ่งสู่อีกแบคทีเรียหนึ่ง
ในพวกเดียวกันหรือต่างพวกกัน คุณสมบัติการดื้อยาจึงก่อให้เกิดปัญหาการแพร่กระจายการดื้อยาจากคนไข้หนึ่งไปสู่คนอื่นๆ
ตลอดจนแพร่กระจายสู่สภาพแวดล้อมได้์

การทานมังสวิรัติมิได้มีผลแต่ในระดับรายบุคคลแต่ยังมัผลกระทบเกี่ยวข้องแผ่กว้างไปจนถึงระดับโลก
จากการประชุมมังสวิรัติโลกครั้งที่ ๓๓ ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ ๔–๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๒ เราได้เข้าใจถึงผลเสียของการทานเนื้อสัตว์ที่ทำให้เกิดการเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคในหลายๆ ระบบและโรคหลายชนิดหาย ได้จากการงดไม่ทานเนื้อสัตว์ เราได้เข้าใจถึงผลกระทบด้านลบของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ ที่ทำให้เกิดการเสียสมดุลทางธรรมชาติ
ที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าที่เคยเขียวขจีและชุ่มฉ่ำด้วยน้ำธรรมชาติเพื่อเอาผืนดินจำนวนมหาศาลมาเลี้ยงสัตว์และ
เอามาปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารเลี้ยงสัตว์ แทนการนำผืนดินมาปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารเลี้ยงมนุษย์โดยตรง ผลที่เกิดคือ
แหล่งน้ำธรรมชาติลดลง แผ่นดินแห้งแล้ง อุณหภูมิโลกสูงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากขึ้น น้ำทะเลสูงขึ้น เภทภัยจากไฟไหม้ป่า
น้ำท่วม ลมฝนแปรปรวน พายุเฮอริเคนรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ยังได้สร้างบาปโดยตรงต่อมนุษย์ชาติบ
างแห่งที่ยากจน เช่น แอฟริกาใต้ ที่ต้องกู้เงินองค์การต่างประเทศมาพัฒนาประเทศ แล้วต้องเอาผืนดินผลิตสินค้าส่งดอกเบี้ย
ในบรรดาสินค้าก็มีพืชพันธุ์ธัญญาหารเลี้ยงสัตว์อยู่มาก ประชาชนผู้ยากจน หิวโหยและเจ็บป่วยจากการขาดแคลนอาหารอยู่แล้ว
ก็ยังคงหิว จนและเจ็บต่อไป
ถ้าเรามองให้เห็นภาพรวมของการทานเนื้อสัตว์อย่างนี้แล้วคงพอจะเห็นผลร้ายของการทานเนื้อสัตว์ที่เป็นสาเหตุ
เภทภัยต่อมนุษย์ชาติที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น
ผู้อาวุโสหลายท่านที่บรรยายในการประชุมนี้ก็ได้พยายามชี้ให้เห็นประเด็นของความเกี่ยวโยงของการทาน
เนื้อสัตว์ในวงกว้าง ท่านพลเอกสายหยุด เกิดผล ให้ข้อคิดในพิธีเปิดประชุมที่ควรนำไปคิดต่อที่ว่า จากการสำรวจดาวอังคาร
พบว่ามีน้ำ มีอากาศคล้ายโลกเรา ซึ่งน่าจะบ่งว่าครั้งหนึ่งเคยมีมนุษย์อาศัยอยู่แต่สูญไป แล้วโลกของเราเล่า ตามกฎอนิจจัง
วันหนึ่งข้างหน้ามิมีวันดับสิ้นไปเหมือนดาวอังคารหรือ วันนี้จะไกลหรือใกล้ก็อยู่ที่มนุษย์ชาติจะช่วยกันประคองรักษาไว้ให้ดี
ได้มากน้อยเพียงใด เราแต่ละคนก็เป็นมนุษย์ชาติคนหนึ่งเหมือนกัน
พระศาสดาศรีสัตกุรุ ยักยิต ซิงห์ ยี มหาราช พระศาสดาของซิกซ์ นิกายนามธารี ตรัสเมื่อวันเปิดประชุมว่า
พระผู้เป็นเจ้าสร้างจักรวาล มนุษย์และสัตว์ที่อาศัยบนโลก คนไม่มีสิทธิ์ฆ่าสัตว์ ถ้าฆ่าเพื่อเอามาเลี้ยงชีวิต มนุษย์ก็ไม่ได้ดี
ไปกว่าสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร
ท่านพระครูพิพัฒนวรกิติ แห่งวัดเขาตะเกียบ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้โอวาทที่การประชุมนี้ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม
ว่าสันติภาพ สันติสุข จะเกิดได้ มนุษย์ต้องมีความคิดความอ่านอยู่ในทำนองคลองธรรม มีบุญญาธิการที่ควบคู่ไปความเมตตา
คนจำนวนมากไม่เข้าใจกฎแห่งกรรม ว่าตายจากชาตินี้แล้วไปเกิดอีกทันที แน่ใจไม่ได้ว่าจะไปเกิดเป็นมนุษย์เสมอไป จ
ะไปเกิดในภพเทวคา คน สัตว์ เปรต อสูร หรือนรก ก็สุดแท้แต่กรรมที่ตนทำ ท่านได้เน้นก่อนจบว่า “ภัยทั้งหลายกำลังมาสู่ท่าน
จงมีเมตตากันไว้เถิด ช่วยกันนำสันติภาพมาสู่โลกก่อนที่จะสายไป”
หลังจากนั้นได้มีฝรั่งถามถามถึงประเด็นที่มีข้อคลางแคลงใจกันอยู่โดยทั่วไปว่าพระพุทธองค์ฉันเนื้อหมู
ที่นายจุณฑะนำมาถวายจนประชวรสิ้นพระชนม์ ซึ่งแท้จริงท่านฉันเห็ดชนิดหนึ่งที่หมูชอบกินมีชื่อว่า สุกรมัทวะ ท่านพระครูได้ปรารภว่า
คัมภีร์ทางหินยานที่เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธองค์ในข้อการทานเนื้อสัตว์ได้ถูกตัดทอนหายไปและ
ขอให้ช่วยกันค้นหาว่ามีคัมภีร์ใดมีข้อมูลเหล่านี้ ต่อประเด็นนี้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสอ่านหนังสือลังกาวตาลสูตรซึ่งท่านพุทธทาสแปลไว้จากคำเทศนาของพระพุทธองค์
เมื่อครั้งเสด็จไปประเทศลังกา ในหนังสือเล่มนี้บ่งว่า คำตรัสของพระพุทธองค์ในข้อการให้ละเนื้อสัตว์มีอยู่ในหลายคัมภีร์และ
ในคัมภีร์และในคัมภีร์ลังกาวตาลสูตรภาคที่ ๘ เป็นส่วนที่ปรากฏรายละเอียด ดังข้าพเจ้าขอคัดมาศึกษาร่วมกับท่านบางส่วนดังนี้
ลังกาวตาลสูตร
๑)โอม มหาบัณฑิต ในวัฏสงสารอันไม่มีใครทราบในที่สุด ในเบื้องต้นนี้สัตว์ผู้มีชีพว่ายเวียนในการเกิดอีก ตายอีก
ไม่มีสัตว์แม้แต่ตัวเดียว ที่ในบางสมัย ไม่เคยเป็นแม่ พ่อ พี่น้องชาย พี่น้องหญิง ลูกชาย ลูกหญิง หรือเครือญาติอย่างอื่นๆ แก่กัน สัตว์ตัวเดียวกัน ย่อมถือปฏิสนธิในภพต่าง ๆ เป็นสัตว์สี่เท้า สัตว์สองเท้าเป็นนก ซึ่งนับได้ว่าเป็นเครือญาติของเราโดยตรง สัตว์เหล่านี้ ทั้งหมดเป็นภราดรของตน แล้วจะเชือดเถือเนื้อหนังของเขาอีกหรือ
๒)เนื้อย่อมเกิดจากเลือดและน้ำอสุจิ เป็นสิ่งไม่ควรบริโภคสำหรับสาวกแห่งพระพุทธศาสนาผู้ประสงค์ต่อความสะอาดบริสุทธิ์
(เพื่อหลุดพ้นทุกข์ทางจิตใจ) สัตบุรุษย่อมบริโภคเฉพาะอาหารที่สมควรแด่ท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่ยอมบริโภคเนื้อละเอียด เพราะฉะนั้นควรที่สาวกแห่งพระพุทธศาสนา จะต้องไม่บริโภคเนื้อสัตว์เลย
๓)โอ,มหาบัณฑิต ก็ในปัจจุบันชาติ เขาเหล่านั้นซึ่งเคยชินในการกินเนื้อสัตว์ ย่อมเป็นผู้ละโมบในการกิน ครั้นถึงอนาคตชาติหน้า เพราะอำนาจจิตติดฝังแน่นในการอยากกินเนื้อ เขาย่อมตกไปสู่กำเนิดแห่งสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น สิงโต เสือ สุนัขป่า สุนัขไน แมว สุนัขจิ้งจอก ฯลฯ
๔)โอ,มหาบัณฑิต ในกรณีแห่งอาการที่เราได้บัญญัติแก่สาวกนั้น มิใช่เนื้อชนิดใดชนิดหนึ่งเลย ซึ่งเป็นของควรกิน ในอนาคตกาล
ในหมู่สงฆ์ของเรา จะเกิดมีบางคนซึ่งสมาทานข้อปฏิบัติแห่งบรรพชิต ผู้กำลังครองผ้ากาสาวพัสตร์ จะเป็นผู้มัวเมาและประกอบตน คลุกเคล้าอยู่ในความเพลิดเพลิน เขาเหล่านั้นจะเรียบเรียงคัมภีร์ให้มีข้อความเท็จอันจะเป็นเครื่องยืนยันและโต้แย้งอย่างเพียงพอ
สำหรับการกินเนื้อสัตว์กัน เขาจะบัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ เขาจะกล่าวข้อความที่ส่งเสริมการกินเนื้อสัตว์และพระภควันต์
ก็ทรงเสวยเนื้อสัตว์โดยพระองค์เอง
ที่กล่าวไปนั้นเป็นส่วนของพระสงฆ์ ที่เกี่ยวกับฆราวาสมีดังนี้
๕)เขาผู้ฆ่าสัตว์ใดๆ ก็ตามเพื่อเงิน และเขาผู้ซึ่งจ่ายเงินซื้อเนื้อนั้นทั้งสองพวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบอกุศลกรรมและจักจบลงในนรก
๖)ทรงตรัสกับพญานาคว่า บุคคลใดหยุดการฆ่าสัตว์ และงดการเสพเลือดเนื้อสัตว์ อีกทั้งชี้นำส่งเสริมในหมู่ชนทั้งหลายให้หยุดฆ่า
หยุดเสพชีวิตเลือดเนื้อผู้อื่นบุคคลนั้นย่อมห่างไกลจากกุศลทั้งปวง และบริบูรณ์พร้อมด้วยอานิสงส์ ๑๐ ประการ
เมื่อพิจารณาคำของพระพุทธองค์ ตรงที่ว่าถ้าตัวเองไม่เสพเนื้อและยังชักนำส่งเสริมให้ชนหมู่อื่นไม่เสพ จะห่างไกลจากอกุศล
อีกความหมายก็คือเราไม่ได้ทำอกุศลพูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด มโนกรรม ๓ คือละโมบ พยาบาท ผิดทำนองคลองธรรม ทำไมเพียงไม่นานเนื้อสัตว์ถึงจะละอกุศลทั้ง ๑๐ ประการได้ พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสต่อไว้แล้วว่าการไม่ทานเนื้อจะได้อานิสงส์ ๑๐ ประการ ซึ่งช่วยส่งเสริมให้บุคคลสามารถปฏิบัติการละอกุศลได้ง่ายขึ้น การไม่ทำอกุศลกรรม ๑๐ ก็คือการปฏิบัติมรรค ๘ ไปในตัว คือ เรามีความเห็นชอบ เป็นผู้นำของความคิด วาจา การกระทำ และการเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง นั่นก็คือมรรค ที่ ๑ – ๕ ซึ่งตรงกับศีล และถ้าเรามีความเพียร มีสติ มีจิตใจจดจ่อตั้งมั่น เข้าไปช่วยส่งเสริม คือ มรรค ๖ – ๘ เป็นเรื่องของสมาธินำสู่ปัญญา จะเห็นได้ว่าการละอกุศล ๑๐ ได้ก็คือเรื่องที่ท่านพระอาจารย์มหาเวียง ฌาณนันโท แห่งวัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ อุปมาอุปมัยว่า วิ่ง
Super Highway 8 lanes เข้าสู่ทางสายกลางคือ มัชฌิมาปฏิปทาและตรงนี้เราได้ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา
หรือไตรสิกขา แล้วนั่นเอง

การเว้นไม่ทานเนื้อสัตว์ จะทำให้เราปฏิบัติธรรมได้ง่ายขึ้น เพราะเราได้รับอานิสงส์ ๑๐ ประการ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสคือ
๑.เป็นที่รักของ เทพ พรหม มนุษย์ สัตว์
๒.บังเกิดจิตมหาเมตตา
๓.ดับอารมณ์ แค้น อาฆาต โหดเหี้ยม
๔.ปราศจากโรคภัย
๕.มีอายุยืน
๖.วัชรเทพทั้งแปดทิศปกปักรักษา
๗.นิมิตเห็นแต่สิ่งเป็นศิริมงคล
๘.ระงับการจองเวร สลายความอาฆาตแค้น
๙.ไม่ตกสู่อบายภูมิ
๑๐.เมื่อจะสังขาร จิตญาณมุ่งสู่สุคติภพ
จะเห็นได้ว่าผู้ทานมังสวิรัติได้เข้าสู่กระแสการปฏิบัติธรรมโดยปริยาย ผู้ทานเจยังงดผักฉุน ๕ ตัดอารมณ์ และถือศีลปาก เข้า –ออก
ถ้าเข้าใจอย่างนี้และศึกษาต่อถึงคำที่พระพุทธองค์ตตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต”ให้เข้าใจว่า ธรรมคือธรรมชาติ
ที่มีในทุกคน ถ้าเข้าใจธรรมเห็นธรรมก็เห็นพระพุทธเจ้าในตัวเอง ปริศนาธรรมตรงนี้ซ่อนสัจธรรมที่ว่า มนุษย์ทุกผู้ทุกเหล่ามีจิต
เดิมแท้ที่เป็นจิตพุทธะ เช่นเดียวกับพระพุทธองค์นั้นย่อมหมายความว่ามีความเป็นสัพพัญญูที่จะสามารถศึกษาและเข้าใจความจริง
แห่งธรรมในธรรมชาติ แต่จิตพุทธะนี้ถูกปิดบังอยู่ใต้จิตสำนึกที่เรารับรู้ไม่ได้ ๙๓%ที่ รศ.ร.ต.อ.สรพล สุขทรรศนีย์
สอนไปเมื่อวันพฤหัสที่ ๗ มกราคม นี้ หรือที่พระอาจารย์อารีย์ อกิญจโน แห่งวัดดอยเกิ้ง อ.แม่สะเวียง จ.แม่ฮ่องสอน
ได้บอกว่าขุมพลังใหญ่ ๓ ขุม คือ พลังปราณ หลังการสืบพันธุ์ และพลังจิต ซึ่งพลังจิตที่เราใช้หรือที่เรารับรู้มีเพียง ๗%อีก ๙๓% เป็นพลังจิตภายในที่เราไม่รู้จักนั่นเอง และจะแสดงออกมาได้เมื่อมีวิกฤต ในทางพลังงานเพื่อกายที่ถูกนำมาใช้ในยามวิกฤต ตัวอย่างคือ ไฟไหม้ยกโอ่งน้ำหนีไฟได้ ในทางพลังจิตใต้สำนึก โจรใจอำมหิตเหลือบเห็นเด็กกำลังคลานจะไปตกน้ำ พุทธจิตส่วนลึกก็จะแสดงออกมาเขาจะวิ่งเข้าไปช่วยโดยที่จิตต่ำๆ ยังไม่แสดงออกมาเลยว่า เดี๋ยวจะต้องเรียกร้องค่าตอบแทนจากพ่อ –แม่ หรือจะเลยจับตัวไปเรียกค่าไถ่
ถ้าเรารู้แล้วว่า มีพุทธจิตเป็นจิตเดิมแท้อันเปี่ยมด้วยความเมตตา และความดีอื่นๆ อีกมากมาย นั้นมีประจำตัวของเราทุกคน แต่ยังสำแดงไม่ได้จนถึงขั้นมีมหาเมตตาตามคำสอนของพระพุทธองค์ คือมีเมตตาที่กว้างขวาง ไม่เลือกเขา –เราชนชาติใดๆ ไม่เลือกสัตว์หรือคน จะแม้แต่ศัตรูก็เมตตาได้ ถ้าเราศึกษาต่อก็จะเข้าใจได้ว่า วิบากกรรมของแต่ละคนนั้นมีมากน้อยต่างกันที่
เป็นตัวปิดบัง มิให้พุทธจิตของเราปรากฏให้เราประจักษ์ได้ การจะชำระวิบากกรรมเหล่านั้นก็คือการไม่สร้างกรรมใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่ง
ก็อยู่ในการไม่ทานเนื้อสัตว์แล้ว และเพิ่มเติมโดยการสร้างกุศลที่เป็นกุศลจริงๆ คือ ความไม่โลภ ไม่โกรธ และไม่หลงโดยเห็น
สรรพสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังคำของพระพุทธะอริยะตรัสสอนว่า
๑)อนิจจญาณสลายซึ่งโลภะ หากญาณของเรารู้ถึงความอนิจจัง รู้ถึงความไม่เที่ยงของตัวเรา ของสรรพสิ่งทั้งหลาย และแม้แต่โลก
ความโลภก็จะสลายได้ และใจเราก็จะเกิดความเสียสละ รู้จักให้ทานด้วยใจที่ว่างอันเป็นกุศลที่แท้จริง
๒)อันโทสะแจ้งทุกขญาณจึงละได้ ทุกขญาณคือญาณที่เห็นทุกข์ได้ ญาณที่รับรู้ว่าโลกนี้มีทุกข์ เห็นได้ว่าโทสะคือความโกรธเป็นทุกข์ ก็จะเลิกโกรธ แต่ถ้าคนไหนที่รู้ว่าโกรธคนอื่นอยู่แต่ไม่รู้ว่าตนกำลังมีทุทข์ก็จะโกรธไปเรื่อยๆ บางคนโกรธจนเป็นความอาฆาตแค้น
ก็จะทุกข์ไปเรื่อยๆ ถ้าจิตของผู้ใดพยายามเข้าใจว่า ทุกข์จริงๆ เป็นอย่างไร ญาณของตนเองก็จะช่วยบอกได้ว่า จะละความทุกข์ได้โดยการตัดความโกรธ
๓)มีอนัตญาณโมหะแล้วมลาย โมหะคือความหลง อนัตตาคือความว่าง อนัตตญาณคือญาณที่บอกให้เรารู้ถึงความว่างความไม่มีตัวตน
แล้วเราจะไปหลงอะไร เมื่อรู้ว่าตนหลง ทำอย่างไรจิตของตนเองจึงจะว่างได้ นั่นก็คือตัดอารมณ์ ญาณตนก็จะช่วยให้จิตผ่องใสเกิดปัญญาในการแยกแยะถูก ผิด ดี –ชั่ว จริง –ปลอม เกิดความสว่างไสวในจิตใจ
หากเราหมั่นสำรวจจิตใจตัวเองว่า มีโลภ โกรธ หลง อยู่หรือไม่ หากมีทำอย่างไรจึงจะทำให้จิตผ่องแผ้วขึ้นมาได้ ก็คือการลดอารมณ์ทางโลก
เมื่อเราปฏิบัติอย่างนี้ได้ จิตเมตตาอันเป็นพุทธจิตที่ไม่เคยรับรู้ ไม่เคยสัมผัสมาก่อน ก็จะปรากฏออกมาได้ เราจะเริ่มสัมผัสได้ถึงจิตใจที่แจ่มใส เบิกบาน มองอะไรก็สวยงาม ผู้คนดีไปหมด เกิดเมตตาสาสารทั้งมนุษย์และสัตว์อย่างลึกซึ้งเองโดยไม่รู้ตัว
เมื่อเราประจักษ์ถึงพุทธจิตของเราสักครั้งหนึ่งแล้วให้เพียรประคองไว้ มุมานะที่จะปฏิบัติการละอกุศลและทำกุศลมูล จากอโลภะ อโมหะ อโทสะ นี้ให้มั่นคง ศึกษาเพิ่มเติมต่อไปด้วยจนเข้าใจอีกถึงลักษณะ ๔ ประการของความเป็นมนุษย์ที่ทำให้เรายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี้ก็คือ
๑.อาตมลักษณะ ลักษณะของใจที่ยึดมั่นในกายสังขารอันเป็นกายปลอมทำให้เกิดตัวฉัน ของฉัน
๒.บุคคลลักษณะ ลักษณะของใจที่แบ่งแยก เปรียบเทียบเขา –เรา รัก –ชัง ดีกับคนนี้ไม่ดีกับคนโน้น จิตที่อิจฉาริษยา
๓.เวไนยลักษณะ ลักษณะของใจที่ลุ่มหลงในการเวียนว่าย คือ ติดอยู่ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทำให้ใจยังมี รัก โลภ โกรธ หลง ทำให้จิตฟุ้งซ่านไม่สงบ
๔.ชีวะวัฒนลักษณะ ลักษณะใจที่ยึดมั่นในความเป็นอยู่ของชีวิต วิงวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขออายุยืนยาว ขอลาภ ขอบุญ หวังแต่จะได้ บำเพ็ญก็ยังยึดมั่นในวัตถุ หากเราเข้าใจถึงลักษณะทั้ง ๔ นี้ และเพียรละทิ้ง อีกทั้งเพียรละทิ้ง ๓ กาล คือ อดีตไม่คิด ปัจจุบันไม่ยึดติด อนาคตไม่กังวล
เกิดขึ้นเมื่อใดให้หยุด การปฏิบัติธรรมของเราก็จะก้าวหน้า จิตที่เป็นพุทธะของเราก็จะปรากฏออกมาได้มากขึ้นเรื่อยๆ
เราจะพบจิตเดิมแท้ที่เป็นสภาวธรรมที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง สงบ เปี่ยมด้วยความเมตตา เราก็จะเกิดกำลังใจและมีความเพียร
มีความมานะ ที่จะปฏิบัติเพื่อประคองจิตนั้นไว้ได้ตลอดเวลามิใช่เฉพาะเวลาที่ทำสมาธิ จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติธรรม
ก็คือการย้อนมองส่องตัวเองให้พบตัวเราคือใคร มีสิ่งใดดีให้คงไว้และทำให้ดียิ่งขึ้น มีสิ่งใดไม่ดีให้ทิ้งไป สิ่งใดผุกร่อน
เสียหายก็ซ่อมแซมเสีย ถ้าเรามีความจริงใจ ตั้งใจตรวจสอบตัวเอง แล้วศึกษาปฏิบัติเพื่อซ่อมแซมจิตของเราอย่างจริงใจ
นั่นก็คือการที่เราฟื้นฟูพุทธจิตธรรมญาณของเรา จะอยู่ที่ระดับไหนก็ขึ้นกับความเพียรพยายาม ขึ้นกับปณิธานของเรา
ถ้าเราได้ประจักษ์ถึงพุทธจิตที่เป็นจิตเดิมแท้หรือธรรมญาณนี้แล้ว คงไว้ได้นานขึ้นๆ นั่นก็คือการเข้าสู่สภาวะจิตเดิมแท้
อันเป็นสภาวะทางสายกลาง ไม่ตกอยู่ในอิทธิพลของ ตา หู ลิ้น จมูก กายและใจ อายตนะทั้ง ๖ มาทำอะไรกับธรรมญาณไม่ได้
เราตัดกิเลสได้แล้ว สภาวะเช่นนี้หากเกิดกับใครได้ตลอดเวลา นั่นก็คือการตัดกิเลสได้หมดสิ้นจนถึงความเป็นอรหันต์
เราท่านทั้งหลายอย่าดูถูกตัวเอง ว่าจะปฏิบัติจิตไม่ได้ เราจะได้ถึงไหนก็ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องคิด ปฏิบัติไปก็ค่อยๆ ประจักษ์อชเอง
เอาแค่เพียงจิตเมตตาเกิดขึ้นได้หากมีผู้ปฏิบัติธรรมจนเกิดจิตเมตตาได้หนึ่งคน และแผ่เมตตานั้นสู่ผู้ใกล้เคียงได้ ผู้มีจิตเมตตา
ก็จะค่อยๆ เพิ่มจากหนึ่งคน เป็น ๒ คน เป็นหลายๆ คน ก็เหมือนเทียนแค่หนึ่งดวงยังส่องสว่างให้เห็นห้องที่มืดปิดไว้นานนักหนา
ให้สว่างขึ้นจนเห็นภาพภายในห้องได้ เทียนยิ่งหลายดวงห้องก็ยิ่งสว่างจนทำให้โลกทั้งโลกสว่างขึ้นนั่นเอง ความเมตตาและกุศลกรรม ที่เกิดจากผู้ทานมังสวิรัติ จักได้ช่วยบรรเทาเบาบาง อกุศลกรรมจากที่ชาวโลกอีกมากมายสร้างความอาฆาตแค้นไว้แก่สัตว์ เป็นพลังจิต
ที่เลวร้ายที่สะสมมาหลายพันปีหลายหมื่นปีแล้ว ไม่ให้เพิ่มพูนมากไปกว่านี้และเภทภัยไม่ว่าจะจากความชั่วร้ายของจิตใจหรือเภทภัยอื่นๆ
ทั้งธรรมชาติ และที่มนุษย์ทำขึ้นคงจะเบาบางลงได้บ้าง และสันติสุขสันติภาพก็จะเป็นความหวังที่ควรแก่การรอคอย

คำค้น :